หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ วัดถ้ำลอดเจริญธรรม อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ทำพิธีทำบุญ กลางบ้านหนองขอนเหนือ (ตามแนวนโยบาย บวร วัด บ้าน โรงเรียน)
หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ วัดถ้ำลอดเจริญธรรม อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ วัดถ้ำลอดเจริญธรรม อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ทำพิธีทำบุญ กลางบ้านหนองขอนเหนือ (ตามแนวนโยบาย บวร วัด บ้าน โรงเรียน)
ตอบลบหลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ วัดถ้ำลอดเจริญธรรม อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ วัดถ้ำลอดเจริญธรรม อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ทำพิธีทำบุญ กลางบ้านหนองขอนเหนือ (ตามแนวนโยบาย บวร วัด บ้าน โรงเรียน)
ตอบลบประเพณีบุญกลางบ้าน
เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวอำเภอพนัสนิคม ซึ่งจะจัดขึ้นในราวเดือน ๓ - ๖ โดยผู้เฒ่าหรือผู้นำชุมชนจะเป็นผู้กำหนดวันทำบุญและทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวบ้าน หลังพิธีสงฆ์จะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน และมีการละเล่นพื้นบ้านเมืองพนัสนิคมเป็นเมืองเก่าแก่มีชุมชนที่มาจากเชื้อชาติต่าง ๆ มาอยู่ร่วมกันทั้งคนไทย ซึ่งอพยพมาตั้งแต่คราวเสียกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่วัดโบสถ์ วัดหลวง และบ้านสวนตาล นอกจากนี้ชุมชนเชื้อสายลาวซึ่งมาอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ปัจจุบัน คือ บริเวณหมู่บ้านศรีวิชัย ส่วนชุมชนชาวจีนนั้นมาอยู่ในคราวมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ดังนั้น ประเพณีบุญกลางบ้านในแต่ละแห่งจึงมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย อันเนื่องมาจากความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมของเชื้อชาตินั้น ๆ อย่างไรก็ดี งานบุญกลางบ้านนั้นมีมาแล้วนับร้อยปีและยังคงดำรงสืบทอดต่อ ๆ กันมาโดยตลอดในการทำบุญกลางบ้านนี้ ไม่ว่าชุมชนเชื้อชาติใดก็ตามมักถือคติการทำบุญที่คล้ายๆกัน คือ รำลึกถึงเจ้ากรรมนายเวร ภูตผี เทวดา เพื่อจะอยู่ดีมีแรง อยู่เย็นเป็นสุข สะเดาะเคราะห์ เสียเคราะห์ เป็นสิริมงคลและร่มเย็นเป็นสุขสิ่งที่ได้จากการทำบุญกลางบ้านทางอ้อม คือ ความสามัคคี การช่วยเหลือกัน มีการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ และปัญหาต่างๆ ปรึกษาหารือช่วยกันแก้ไข
วิธีการดำเนินงาน
๑. ตั้งปะรำปูพื้น ขึงผ้าม่าน บางแห่งปูพื้นด้วยแผ่นไม้ บางแห่งใช้เสื่อโดยเลือกสถานที่ที่เป็นที่ว่าง กลางหมู่บ้านหรือกลางท้องนา
๒. การกำหนดสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เช่น บางปีนํ้าท่วมขังก็ย้ายที่ใหม่
๓. จัดที่ตั้งพระพุทธ บางแห่งอาจมีการแห่พระพุทธรูปมาประดิษฐานด้วย ที่วางบาตรนํ้ามนต์ บางสถานที่จะจัดตั้งศาลเพียงตา บางแห่งจะใช้เพียงต้นเสา ๑ ต้น วางไม้พาดเป็นตัวที เรียกว่า ศาลเทวดา ไว้สำหรับไหว้บรรพบุรุษ หรือเจ้าที่ โดยส่วนใหญ่จะทำนอกปะรำพิธีสงฆ์
๔. ตอนเย็นนิมนต์พระ ๙ รูป หรือมากกว่านี้มาสวดมนต์เย็นชาวบ้านจะมาฟังสวดมนต์ ในบางแห่งที่ชุมชนมีเชื้อสายไทย (วัดโบสถ์ วัดหลวงสวนตาล) จะมีการตีฆ้อง ๓ ครั้ง หลังจากพระสวดจบ ๑ บท แต่ในบางแห่ง เป็นการสวดมนต์ธรรมดาไม่มีการตีฆ้อง สำหรับการละเล่นนั้น หลังเลิกสวดมนต์แล้วบางแห่งก็มีบางแห่งก็ไม่มี การละเล่น ก็คือ หมอลำลิเก (ร้องกันเอง) รำวง
๕. เช้าวันรุ่งขึ้น นิมนต์พระมาฉันเช้า ชาวบ้านจะนำอาหารมารวมกันตักแบ่งถวายพระ บางแห่งอาจมีการเผาข้าวหลามถวายพระด้วย การเตรียมอาหารแล้วศรัทธาของแต่ละบุคคลบางพื้นที่อาจตกลงกันว่าใครจะทำอะไรก็ได้
๖. บางพื้นที่อาจะมีการทำกระทงด้วยใบตองใส่ลงไปในกระทงกาบกล้วยที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้กาบกล้วยตัดเป็นรูปคน หรือบางครั้งใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปคนเท่าจำนวนสมาชิกในบ้านรวมไปถึง วัว ควาย ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ด้วย (พบว่าการทำกระทงนี้ชุมชนเชื้อสายลาวจะทำทุกแห่ง ยกเว้นชุมชนเชื้อสายไทยที่ไม่ทำ) บางแห่งไม่ใส่ข้าวขาว มักใส่สตางค์ลงไปด้วยแล้วจุดธูปปักลงในกระทงบางแห่งจุดดอกเดียว บางแห่งก็สุดแล้วแต่จำนวนกระทง เสร็จแล้วนำกระทงนี้ไปวางไว้ทางทิศตะวันตก เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารเสร็จแล้ว ท่านจะนำนํ้ามาองค์ละ ๑ แก้ว ยืนเป็นวงกลมแล้วราดลงไปในกระทง บางแห่งอุทิศให้คนอยู่บางแห่งอุทิศให้คนตาย เสร็จแล้วชาวบ้านจะนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือโคก
๗. หลังเสร็จพิธี ชาวบ้านจะมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน โดยจะไต่ถามถึงสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน บางพื้นที่มีความเชื่อจะต้องรับประทานให้หมด ไม่นำกลับบ้าน เช่น ที่ชุมชนบ้านหน้าพระธาตุ แต่โดยปกติเมื่อเหลือมักตักแบ่งกันไป หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้าน การใส่บาตร จะทำที่วางบาตรไว้โดยใช้ผ้าหรือทำที่ใส่บาตรเฉพาะ โดยนำมาวางเรียงกันไว้เมื่อพระสวดพาหุง ๘ ทิศ ชาวบ้านจึงเริ่มใส่บาตรได้ การกำหนดวันจะกระทำกันในราวเดือน ๓ - ๖ โดยผู้เฒ่าผู้แก่หรือชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดวันทำบุญ โดยถือเอาวันว่างและสะดวก ชาวชลบุรีมีความเชื่อซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่อธิบายว่า ข้าวดำ ข้าวแดง โบราณว่า เป็นอาหารของผีกิน ข้าวดำ ใช้ข้าวผสมรวมกับก้นกระทะ ข้าวแดง ใช้ข้าวผสมกับปูนกินหมาก หรือขมิ้น ผักพร่าปลายำ ใช้นํ้าพริกอะไรก็ได้หั่นผักบุ้งละเอียด ๆ ผสมรวมกันลงไปใส่ปลาด้วย การหยาดนํ้าของพระสงฆ์ในกระทง หมายถึง เป็นการส่งผีปู่ ผีย่า ผีตา ผียาย ขึ้นสวรรค์ ในการกรวดนํ้าพระจะสวดบท ภุมมัสสิง ทิสา ภาเค... การที่กระทำบุญในเดือน ๓ กลางเดือน โบราณว่าเป็นวัน "กบไม่มีปาก นาคไม่มีก้นขี้”หมายความว่า กบร้องที่ไหน คนก็จะตามเสียงร้องนั้นไปและไปจับมากิน พญานาคเมื่อกินอาหารแล้วไม่ถ่ายออกมาก็ไม่หิว อาหารก็จะเหลืออยู่ ซึ่งหมายความว่า บุคคลผู้ทำบุญเดือน ๓ กลางเดือน จะเป็นผู้อยู่รอดปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์เหลือกินเหลือใช้