วัฒนธรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม อินเดีย จีน และ ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู

วัฒนธรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม อินเดีย จีน และ ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้ระบุไว้ว่า "วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มคนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจและวัตถุอย่างสันติสุขและยั่งยืน" ถึงแม้คำนิยามของวัฒนธรรมจะมีความครอบคลุม และหลากหลาย ก็ยังยังมีการเน้นมิติของ ความดีงาม และมักจะใช้เป็นข้ออ้างในการ ควบคุม และ ครอบงำ สมาชิกในสังคม ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในทางสังคมวิทยานั้น หมายถึง ระบบความหมายและแบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมนั้นนั้นยึดถือและปฏิบัติ วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1] ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1] คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2] คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2] ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว

ความคิดเห็น

งานประชาสัมพันธ์ ผลงาน ท่านหลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ

ข่าว ทำบุญครบรอบ วันเสียชีวิตคุณแม่ ประจำปี 8 - 4- 2567 หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ วัดถ้ำลอดเจริญธรรม อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ เตรียมงาน ทำบุญครบรอบ วันบวงสรวงเสื้อวัด ทรงวัดศาลปู่ปัญญาฯ ประจำปี 17- 4 - 2567

ศิษย์ หลวงพ่อพระมหากฤชวัฒน์ ปัญญาวุโธ เฮ่ลั้น พลวงพ่อเตรียมงาน ทำบุญครบรอบประจำปี 17 -4 - 2567 ทำพิธี สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ เสริมบารมี แก้ปีชง ให้กับศิษย์ทุกคนที่มาร่วมงาน นี้ รวยๆทุกๆคน