เดือนเจ็ด บุญซำฮะ ทำบุญชำฮะ ซำฮะ หมายความว่า ชำระ หรือล้าง เป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคลให้ออกจากหมู่บ้าน เพื่อชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข พ้นจากภัยต่าง ๆ
D - HOUSE GROUP ได้สำรวจการออกแบบโครงการและลงทุนในพื้นที่ เพื่อจัดสร้าง ที่พักผู้สูงอายุ
บริษัท ฯ กลุ่มนักลงทุนและ คณะบริหารการวิจัย D - HOUSE GROUP ได้สำรวจการออกแบบโครงการและลงทุนในพื้นที่ เพื่อจัดสร้าง ที่พักผู้สูงอายุ โครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน นำโดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ความสำคัญ ของโครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ หรือ นโยบายของรัฐ ภาคเอกชน วันนี้เป็นวันดีนะครับเป็นวันสิ้นปีของรอบวันเกิด ของผู้เขียน และเป็นวันเริ่มต้นชีวิตใหม่ วันนี้เป็นวันดีที่ได้กำหนดแผนงานว่าจะต้องเขียนแผนธุรกิจขึ้นมาเพื่อ เสริมสร้าง ให้องค์กรมีแนวคิดต่อยอดจากความคิดของเรา และ การลงมือ ทำงานหรือการลงทุนในการทำธุรกิจ การที่เรามีแผนกำหนดเป้าหมายเอาไว้นั้นเราจะต้องมีระเบียบและวิธีการในการ จัดการในการทำงานจะต้องสร้าง โครงสร้างของธุรกิจขึ้นมา ในการสร้างโครงสร้างธุรกิจขึ้นมานั้น เขาต้อง ใช้ความรู้ความสามารถที่เรามีอยู่ใน องค์ความรู้ของเราที่เรามีประสบการณ์การทำงานเรามีประสบการณ์ การใช้ความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในการบริหารมีประสบการณ์ในการประกอบการในหน้าที่ตลอดจนเราได้ ดำเนินธุรกิจ ไป ดำเนินการธุรกิจตาม planning ที่เรากำหนดไว้นั้นจนสำเร็จลุล่วง แล้วเสร็จและมีกำไร เราก็ประเมินผลจากการทำงานที่ผ่านมาในประสบการณ์ เมื่อเราเห็นผลงานประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราเองนั้น สำเร็จผลเราก็ เผยแพร่ความรู้ของเราที่มีอยู่ ให้กับ พนักงานเพื่อพัฒนาองค์กรหรือคนที่เข้ามาเรียนรู้กับเราเราจะได้เผยแพร่ให้กับลูกศิษย์ของเรา ถึงขั้นตอนนี้ก็เช่นเดียวกัน จังกับผมเองในฐานะที่เป็นผู้ที่มีความ ชำนาญเป็นผู้ทรงมนุษย์ทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จนเกิด Training ธุรกิจที่สั่งสมประสบการณ์มาในระยะเวลาร่วม 30 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันได้เขียนโครงการ ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลซึ่งเรียกว่าโครงการ senior complex ประชารัฐภาคเอกชนสิ่งใดประสานงานกับทางท่านอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุท่าน ดร.สมคิดสมศรี ในอดีตจน ประสานงานกับทางกระทรวงพัฒนาสังคมเป็นโครงการประชารัฐ ในสมัย รัฐบาลของท่านประยุทธ์ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคม และผู้สูงวัย เตรียมแผนต้อนรับการอยู่อาศัยของผู้สูงวัยในการแก้ปัญหา ระดับชาติ จนทำให้ แพนนิ่งธุรกิจของผมที่เขียนขึ้นมาเป็นที่ยอมรับของ กรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานราชการ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ทั้งสถาบันการเงิน ในประเทศไทย ในภาครัฐที่ ให้การสนับสนุนสินเชื่อโครงการ ธนาคาร ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคาร แห่งชาติ และสถาบันการเงินต่างประเทศอีกหลายสถาบัน ที่ให้การสนับสนุนโครงการ ดร.สมัย แหมมั่น ในอดีต จนปัจจุบันนี้ ในระยะเวลาที่ การจัดทำโครงการเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการนโยบายของภาครัฐนั้น ใช้ระยะเวลาในการทำโครงการก็ หลายปี เขียนโครงการมาหลายปีจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจน เกิดการ สนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐและออกหนังสือ ให้การสนับสนุนโครงการเป็นรูปประธรรม โดยโครงการ senior คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน ของ ดร.สมัย เหนมั่น นั้น ได้รับการสนับสนุนจากกรมกิจการผู้สูงอายุ โดยใช้นโยบายของรัฐบาล ในการจัดทำโครงการ เป็นนโยบายประชารัฐ วางแผนการอยู่อาศัย หลังวัยเกษียณของผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะวางแผน การอยู่อาศัยใน วัยเกษียณหลังจากการทำงาน ไปแล้ว โครงการได้รับการอนุมัติ ในการสนับสนุนให้สนับสนุนสินเชื่อโครงการสำหรับ การดูแลผู้สูงวัย ด้วยการ ดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยกันโรงพยาบาล การดูแลสุขภาพ สำหรับภาคเอกชนที่มีความประสงค์ จะขอสินเชื่อเพื่อทำโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน รัฐบาลก็จัดงบประมาณจัดนโยบาย ในการสนับสนุนสินเชื่อโครงการสิ่งใดของเด็กซึ่งเป็นเหตุการณ์ของรัฐ ไว้ให้บริการตามความเหมาะสมความจำเป็นของการขอสินเชื่อโครงการดังกล่าว โดยอนุมัติ ให้โครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน สามารถที่จะกู้เงิน จาก ธนาคารของภาครัฐ ในการจัดทำโครงการได้เหมือนกับโครงการธุรกิจอสังหา หรือโครงการใน SME ทั่วๆไป ก็สามารถกู้ขึ้นมาเพื่อที่จะทำโครงการได้ ถือว่าเป็นนโยบายหลักที่มีความ สำคัญและเป็นหัวใจในการขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินที่รัฐสนับสนุน เรือ่งนี้ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมการลงทุน ของภาครัฐที่ส่งเสริมให้ทำธุรกิจประกอบการในส่วนที่เป็นกิจการของรัฐในภาคเอกชนบรรลุเป้าหมาย ในส่วนของโครงการ ประชารัฐภาคเอกชนของท่านดอกเตอร์ สมัย ได้พัฒนาอาการรูปแบบการจัดทำการตลอดจนแบบแปลนตลอดจนแผนนิ่งงานเพื่อ พัฒนาโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน เป็นโครงการระดับชาติ และขอความร่วมมือจากหน่วยงานของภาครัฐ ในการขอทุนเพื่อทำการตลอดจนภาคเอกชน ขอทุนเพื่อทำโครงการ ชนบทนี้ปี 2561 มีความสนใจ เข้าดูงานเข้าดู แผนธุรกิจแผนการบริหาร ของ ดร ชัยณัฎฐ์ แสงมณี ได้จัดทำสำนักงานเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานระหว่างไทยต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการลงทุนและก็ศูนย์สัมมนา เพื่อที่จะให้หน่วยงานราชการหน่วยงานท้องถิ่น ได้เข้าชมและรับฟังการบรรยายให้ความรู้ในการวางแผนเพื่อการอยู่อาศัยของวัยเกษียณตลอดจน ความจำเป็นในการ จะดำรงชีวิตหรือการวางแผนชีวิตในวัยเกษียณว่ามีวิธีการจัดการกับชีวิตของตนเอง ที่ดีอย่างไร ให้กัผู้สนใจและเพยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษา และประชาชนและข้าราชการหน่วยงานต่างๆเพื่อลดปัญหาในการ อยู่อาศัยของผู้สูงวัยในอนาคตที่จะมา ถึงและวันเวลาของแต่ละท่านได้เข้าอยู่อาศัย ในโครงการลักษณะดังกล่าวซึ่งเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ตลอดจน เตรียมการในการก่อสร้าง โครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของ พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคนที่มีความต้องการอยากจะเข้าอยู่อาศัย โครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์มีความเป็นบูรณาการ ที่สามารถสัมผัสได้จริงของประชาชนคนไทยตั้งแต่ 1 คือราคาไม่แพง 2 มีองค์ประกอบครบครันสามารถที่จะฝากชีวิตในบั้นปลาย 3 ตลอดจนการดูแลสุขภาพส่งเสริมสุขภาพที่ดี 4 ตลอดจน การวางแผนที่จะอยู่ใน ชีวิตที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สามารถที่จะ ดำรงชีวิตอยู่ได้ในโครงการ ที่มีการดูแลด้วยระบบ Smart City ตลอดจน health care ที่ทันสมัย และ เทคนิคการชะลอวัยจราจร การวางแผนด้านอาหาร ในการบริโภค สำหรับผู้สูงวัย และ ที่พักอาศัยอันเหมาะสมสามารถที่จะเข้าอยู่ได้จริงสำหรับผู้ที่มีความประสงค์ในการอยู่ อาศัยในโครงการ วันนี้ธนาคาร สถาบันการเงินจากต่างประเทศให้การสนับสนุน ด้วยการรับรองโครงการ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินไฟแนนซ์จากประเทศอังกฤษ และ ไฟแนนซ์จากดูไบให้การรับรองวงการว่าเป็นโครงการที่มีความเหมาะสมต่อมนุษย์ กับธนาคารในประเทศไทยซึ่งเป็นสถาบันการเงิน แห่งชาติ คือสถาบันการเงินธนาคาร UOBแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนโครงการเพื่อการจัดทำ startup เป็นแผงสตาร์ทอัพธุรกิจที่จะ ผลักดันให้โครงการเปิดลุล่วงไปดีๆ Step แรกพัฒนาธุรกิจโดยการสร้างโครงสร้างของธุรกิจตัวอย่างขึ้นมา แล้วก็ว่าประชาสัมพันธ์ โครงการสิริกิตให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบรับรู้และก็สร้างโครงการตัวอย่างขึ้นมา ด้วยงบประมาณ ระยะแรกจำนวน 200 ล้านบาท ในระยะที่ 2 เพื่อสนับสนุนโครงการในการจัดทำและบริหารการก่อสร้างโครงการ ผลักดันงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ 1 โครงการจำนวน 500 ล้านบาท และใน งบประมาณการจัดทำโครงการเพื่อขยายโครงการออกไปในแต่ละจังหวัด ที่วางแผนเอาไว้นั้นงบประมาณ ที่เหมาะสม ในการพัฒนาโครงการ จำนวน 5,000 ล้านบาท อันนี้ ก็เป็นระยะแรกที่ สถาบันการเงินดังกล่าวให้การสนับสนุน โดยการวางแผน เพื่อที่จะรองรับ ผู้ที่มีความสนใจในโครงการ คาดว่าสามารถที่จะเข้าอยู่ภายในปี 25 68 โครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน ภายในปี 2566 ปลายปีนี้ก็เป็นช่วงที่ตาเตรียมการในการพัฒนา และ สรรหา พื้นที่การจัดทำโครงการตลอดจนบุคลากรเข้าร่วม การทำ Start Up ธุรกิจ อันนี้ก็เป็นไปตามแผนที่วางไว้ของดอกเตอร์ชยณัฐแสงมณี ได้ให้ข้อมูลไว้ ในวันนี้ปี 2566 เดือน 12 เนื้อหารายงานจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน สำนักงาน ศูนย์ประสานงาน เขตดอนเมือง ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี 30 /12/2566
ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีที่ประชาชนนำมาปฏิบัติประจำเดือน ทั้ง ๑๒ เดือนในรอบปีเป็นประเพณีการทำบุญประจำเดือนที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา การนับเดือนเป็นแบบจันทรคติ คือ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด และเดือนสิบสอง ตามปกติเดือนอ้ายซึ่งเป็นเดือนแรกของปีจะเริ่มประมาณปลายเดือนธันวาคม ชาวอำนาจเจริญ ถือว่าการประกอบพิธีกรรมตามฮีตสิบสองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าพิธีกรรม ดังกล่าวเกี่ยวเนื่องทั้งพุทธศาสนาและภูตผีวิญญาณ ตั้งแต่ได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ทางราชการและประชาชนได้พยายามส่งเสริมพิธีกรรมฮีตสิบสอง ให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยจัดงานฮีตสิบสองและงานกาชาด ให้เป็นงานประจำปี ซึ่งจัดงานในวันที่ ๑-๑๐ ธันวาคม ของทุกปี
พิธีกรรมตามฮีตสิบสอง ที่ชาวอำนาจเจริญปฏิบัติสืบเนื่องต่อมาจนปัจจุบัน มีดังนี้
ฮีตที่ ๑. เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม
ฮีตที่ ๒. เดือนยี่ บุญคูนลาน
ฮีตที่ ๓. เดือนสาม บุญข้าวจี่
ฮีตที่ ๔. เดือนสี่ บุญผะเหวด
ฮีตที่ ๕. เดือนห้า บุญสงกรานต์
ฮีตที่ ๖. เดือนหก บุญบั้งไฟ
ฮีตที่ ๗. เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
ฮีตที่ ๘. เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
ฮีตที่ ๙. เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
ฮีตที่ ๑๐. เดือนสิบ บุญข้าวสาก
ฮีตที่ ๑๑. เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
ฮีตที่ ๑๒. เดือนสิบสอง บุญกฐิน และงานลอยกระทง
เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม เป็นพิธีกรรมที่พระภิกษุหาทางออกจากอาบัติ พระภิกษุเป็น ผู้ประกอบพิธี พระภิกษุจะเข้าอยู่ในเขตจำกัด แล้วรักษากายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พร้อมทั้งถือว่า "เข้ากรรม” เป็นการทดแทนคุณมารดา เพราะว่าเมื่อมารดาชาวอีสานคลอดบุตรต้องอยู่กรรม หรืออยู่ไฟ บางท้องถิ่นเรียกการเข้ากรรมว่า "การเข้าปริวาสกรรม” ใช้เวลาทั้งสิ้น ๙ คืน ปัจจุบันการทำบุญเข้ากรรม จะนิยมทำที่วัด โดยจะมีการกำหนดวันทำบุญเข้ากรรม ตามความพร้อมของแต่ละท้องที่
เดือนยี่ บุญคูนลาน หลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกองเมล็ดข้าวไว้ในลานนวดข้าว เป็นรูปกรวยคว่ำ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "กุ้มข้าว” ก่อนจะนำข้าวขึ้นเก็บไว้ในยุ้งฉาง ชาวบ้านจะทำบุญขวัญข้าว โดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็นและถวายภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น เลี้ยงอาหารเพื่อนบ้านที่ไปร่วมพิธี ต่อจากนั้นจึงนำน้ำมนต์ไปพรมกองข้าวและ ที่นา เพื่อให้เจ้าของนาจะได้อยู่อย่างเป็นสุข ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ปีต่อไปข้าวกล้านาจะงอกงามและได้ผลดี ต่อจากนั้นจึงขนข้าวใส่ยุ้งฉาง เจ้าของนา บางคนอาจจะประกอบพิธีสู่ขวัญเล้า หรือยุ้งข้าวเพิ่มขึ้นอีก บางครั้งไม่สามารถทำบุญคูณลานได้เพราะว่าสภาพเศรษฐกิจของครอบครัวไม่ดี
เดือนสาม บุญข้าวจี่ ตรงกับช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้าน นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาปั้นเป็นก้อน ให้มีขนาดประมาณไข่เป็ดฟองใหญ่ ทาเกลือแล้วเอาไม้เสียบอย่างไฟพลิกกลับไปมาจนผิวข้าวจี่กลายเป็นสีเหลือง ชาวบ้านต่างพากันนำข้าวจี่ไปวัด หลังจากที่พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์แล้วต่อจากนั้นจึงตักบาตรด้วยข้าวจี่ กล่าวคำถวายข้าวจี่ แล้วนำข้าวจี่ถวายพระพร้อมกับอาหารอื่น ปัจจุบันได้รวมบุญมาฆบูชาไว้ในบุญข้าวจี่ด้วย
เดือนสี่ บุญผะเหวด หรือบุญมหาชาติ การทำบุญผะเหวดเป็นการประสานความร่วมมือกับหมู่บ้านจากหมู่บ้านอื่นมาร่วมงานด้วย กิจกรรมหลักของบุญผะเหวด คือ การนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอพระอุปคุตในตอนเช้า ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าวัด ช่วงค่ำพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ กลางคืนเทศน์เรื่อง พระมาลัยหมื่นพระมาลัยแสน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระมาลัยไปเยี่ยมนรก ต่อจากนั้นจึงเทศน์สังกาศ วันที่สองจะมีเทศน์มหาชาติตลอดวัน เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาว่าการเทศน์มหาชาตินั้นจะต้องเทศน์ให้จบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ภายในวันเดียว จึงจะได้อานิสงส์มาก บางท้องถิ่นจะมีการแห่ข้าวพันก้อน ก่อนฟังเทศน์มหาชาติ ในวันที่สอง ซึ่งจะ มีการทำพิธีแห่ข้าวพันก้อน ตั้งแต่เวลา ๐๓.๐๐ น. โดยชาวบ้านจะมีผู้นำทำพิธีแต่งชุดขาว แห่ข้าวไปตามซุ้มธงทิว จำนวน ๘ ทิศ รอบโบสถ์ โดยเดินเวียนทั้งหมด ๓ รอบ
เดือนห้า บุญสงกรานต์ เป็นทำบุญเฉลิมฉลองปีใหม่ตามคติโบราณ ซึ่งจัดให้มีพร้อมกันทั่วประเทศ โดยทำบุญสงกรานต์ในวันที่ ๑๓-๑๔ เมษายน กิจกรรมหลักของบุญสงกรานต์ คือการสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด สรงน้ำคนเฒ่าคนแก่ หนุ่มสาวเล่นสาดน้ำกัน (หรือนิยมเรียกว่า "ไปเนา”) ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทราย บูชาพระเจดีย์ทราย และแห่ข้าวพันก้อน ในเมืองจะทำบุญสงกรานต์เพียง ๓ วัน คือวันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน ส่วนในชนบทจะสรงน้ำพระพุทธรูปต่อไปอีกจนถึงวันเพ็ญเดือน ๖ จึงเสร็จสิ้นพิธีสงกรานต์ และก่อนที่พิธีสงกรานต์จะสิ้นลง ชาวบ้านจะทำพิธีแห่ดอกไม้รอบบ้าน ก่อพระเจดีย์ทรายไว้ตามทางสามแพร่งรอบหมู่บ้าน ไปรวมกัน เรียกว่า ค้ำโพธิ์ค้ำไฮ และ ปักธงเฉลียงไว้ตามกองทราย
เดือนหก บุญบั้งไฟ เป็นพิธีกรรมขอฝนจากแถน โดยทำพิธีบูชาอารักษ์หลักเมือง เพื่อให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ให้ชาวบ้านได้ทำนา อย่างเต็มที่ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข กิจกรรมหลักของบุญบั้งไฟ การแห่บั้งไฟ การประกวดและแข่งขันบั้งไฟ การเล่นกลองตุ้ม การเส็งกลองกิ่ง การหดสรงพระภิกษุหรือสามเณรที่เห็นว่าเป็นผู้มีคุณธรรม การบวชนาค วันสุดท้ายเป็นการจุดบั้งไฟ บางพื้นที่จะทำบุญบั้งไฟ ทุก ๆ ๓ ปี ปีใดไม่ทำบุญบั้งไฟก็จะทำเฉพาะบุญเดือนหก คือ บุญวันวิสาขบูชา
เดือนเจ็ด บุญซำฮะ ทำบุญชำฮะ ซำฮะ หมายความว่า ชำระ หรือล้าง เป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคลให้ออกจากหมู่บ้าน เพื่อชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข พ้นจากภัยต่าง ๆ โดยชาวบ้านจะสร้างประรำพิธีขึ้น ในหมู่บ้าน ผูกต้นกล้วยติดกับเสาประรำทั้งสี่มุมจัดทำอาสนสงฆ์ เตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัย ด้ายสายสิญจน์ น้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน (ข้อมือ) เครื่องไทยทาน กรวด ทราย หลักไม้ไผ่ ๘ หลัก ตอนเย็นนิมนต์พระมาสวดมนต์ ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นถวายภัตตาหารเช้า ทำพิธี ๓ คืน เช้าวันสุดท้ายถวายสังฆทาน ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ คนเฒ่าคนแก่ผูกแขนให้ชาวบ้าน หว่านกรวดทรายให้ทั่วหมู่บ้าน แล้วขึงด้ายสายสิญจน์ให้รอบหมู่บ้าน เอาหลัก ๘ ทิศไปตอกไว้ตามทิศทั้งแปดของหมู่บ้าน ชาวบ้านจะนำสิ่งปฏิกูล ไปทิ้งนอกบ้านบางแห่งจะทำบุญซำฮะในเดือนสาม โดยเลือกวันขึ้น ๑๔- ๑๕ ค่ำ
เดือนแปด บุญเข้าพรรษา ซึ่งเป็นพิธีที่ให้พระภิกษุ และสามเณรอยู่ประจำที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งตลอดสามเดือน คือเริ่มตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ทำบุญเข้าพรรษาถือเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาโดยชาวบ้านจะถวายภัตตาหารเช้าและภัตตาหารเพล พร้อมทั้งเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นตลอดทั้ง ๓ เดือน แด่พระสงฆ์ ได้แก่ ไตรจีวร ยารักษาโรค เทียน ตะเกียง น้ำมัน นอกจากนั้นยังมีการถวายต้นเทียน บางท้องที่นำขี้ผึ้งมาหล่อเป็น ต้นเทียนขนาดใหญ่ ประดับตกแต่งลวดลายที่สวยงาม แล้วแห่ไปถวายพระ ที่วัด อาจจะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝนหรือปัจจัยด้วย หลังจากนั้นพระสงฆ์จะเทศนา ๑ กัณฑ์ จังหวัดอำนาจเจริญ ได้จัดประเพณี ไหว้พระ ๙ วัด เสริมอำนาจบารมีที่อำนาจเจริญ
เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือญาติมิตร ที่ล่วงลับไปแล้ว ข้าวประดับดิน คือ ข้าวและอาหารหวานคาว หมากพลู และบุหรี่ ชาวบ้านจะนำสิ่งของดังกล่าวใส่กระทงแล้วนำไปวางตามที่ต่างๆ ในเขต ลานวัด เช่น ตามรั้ว ต้นไม้ หรือตามพื้นดิน การทำบุญข้าวประดับดินจะจัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ โดยชาวบ้านจะลุกขึ้นแต่เช้ามืดประมาณ ๓ – ๕ นาฬิกา แล้วนำกระทงข้าวประดับดินไปวางไว้ตามที่เห็นว่าสมควร เมื่อวางกระทงเสร็จแล้วจะจุดธูปเทียนบอกกล่าวให้เปรตหรือผู้ล่างลับไปแล้วมารับส่วนบุญ การนำกระทงไปวางที่ต่างๆต้องทำให้เสร็จก่อนรุ่งเช้า เพราะเชื่อว่าเปรตจะท่องเที่ยวเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น เมื่อถึงเวลารุ่งเช้าก็จะทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์สมาทานศีล ฟังเทศน์ และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ
เดือนสิบ บุญข้าวสาก ข้าวสาก คือ สลากภัต เป็นการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์โดยวิธี จับสลาก เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย ซึ่งเคยเป็นญาติผู้รักใคร่นับถือ โดยจะจัดงานขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ตอนเช้ามืดของวันงานชาวบ้านจะเตรียมอาหารที่จะทำเป็นสลากภัตแล้วนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปถวายพระและสามเณร พอใกล้เวลาเพลจึงนำอาหารที่เตรียมไว้สำหรับทำเป็นสลากภัตไปวัด ชาวบ้านจะนำสลากที่มีชื่อพระสงฆ์และสามเณร ไปถวายพระสงฆ์หรือสามเณรรูปนั้น นำข้าวสลากภัตไปวางไว้ตามบริเวณวัด แล้วจุดธูปเทียนบอกกล่าวให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วมารับอาหาร และผลบุญที่อุทิศไปให้ มีการฟังเทศน์และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้นชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยงผีตาแฮก ณ ที่นาของตน
เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ชาวบ้านจะจัดงานในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตอนเช้ามีการตักบาตรหรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสามเณร บางท้องที่มีการกวนข้าวทิพย์ถวายเป็นพิเศษ มีการรับศีล ฟังเทศน์ ตอนค่ำมีการจุดประทีปโคมไฟในบริเวณวัดและหน้าบ้าน ในชนบทจะเอารวงข้าวที่เพิ่งผลิ เรียกว่า "ข้าวน้ำนม” ทำเป็นดอกไม้บูชา กลางคืน มีมหรสพ ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้แม่น้ำ เช่น อำเภอชานุมาน จะจัดให้มีการแข่งเรือ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า การส่วงเฮือ นอกจากนี้ประชาชนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนิยมมาร่วมแข่งเรือในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
เดือนสิบสอง บุญกฐิน การทำบุญกฐิน คือการถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ที่ผ่านการจำพรรษาแล้ว มีระยะเวลากฐิน หรือกรานกฐิน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ในการทำบุญกฐินนั้นเจ้าภาพจะต้องจองวัด และกำหนดวัดทอดกฐินไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเวลาเข้าพรรษา พร้อมทั้งเตรียมผ้าไตรจีวร อัฐบริขารอื่นๆ และเครื่องไทยทาน เจ้าภาพจะแจ้งข่าวการทำบุญกฐินให้ญาติมิตรทราบ กลางคืนก่อนวันทอดกฐินจะมีมหรสพฉลององค์กฐินอย่างสนุกสนาน วันรุ่งขึ้นก็แห่องค์กฐินไปวัด แห่เวียนประทักษิณหรือเวียนขวารอบโบสถ์ สามรอบ แล้วจึงทำพิธีถวายผ้ากฐินพร้อมทั้งบริวารแด่พระสงฆ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น